6 วิธีชีวภาพปราบน้ำเสีย ด้วยถังบำบัดน้ำเสียเติมอากาศสำหรับโรงงานและโรงพยาบาล
สถานที่เสี่ยงต่อการติดเชื้ออย่างโรงพยาบาลนั้นต้องระมัดระวังมิให้น้ำทิ้งปนเปื้อนเชื้อโรค ถังบำบัดน้ำเสียเติมอากาศสำหรับโรงพยาบาลจึงเป็นที่ต้องการอย่างมาก เพราะเป็นระบบบำบัดน้ำเสียฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถมั่นใจได้ว่าน้ำทิ้งที่ปล่อยผ่านถังบำบัดน้ำเสียออกมาจะได้มาตรฐาน ยิ่งเป็นสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วย ยิ่งต้องเอาใจใส่และดูแลน้ำทิ้งมากเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อชุมชน
ก่อนไปทำความรู้จักกับถังบำบัดน้ำเสียเติมอากาศสำหรับโรงพยาบาลและโรงงานต่าง ๆ กันนั้น ควรทราบถึงกลไลของถังบำบัดน้ำเสีย รวมถึงระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก่อน เพื่อให้เห็นภาพรวมและหลักการของถังบำบัดน้ำเสียฆ่าเชื้อแบบต่าง ๆ
การบำบัดน้ำเสียคือการเปลี่ยนแปลงน้ำทิ้งให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมและได้มาตรฐานเพียงพอที่จะปล่อยลงสู่แหล่งรับน้ำทิ้งโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหา โดยทั่วไปแล้ว การบำบัดน้ำเสียจะใช้กันอยู่ 3 แบบได้แก่
1. การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางกายภาพ (Physical Wastewater Treatment)
เป็นการใช้หลักการฟิสิกส์ หรือแรงทางกายภาพต่าง ๆ เช่น แรงโน้มถ่วง แรงเหวี่ยง แรงหนีศูนย์กลาง เป็นต้น เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกออกจากน้ำเสีย ส่วนมากจะเป็นสารที่ไม่ละลายน้ำ มักใช้ในถังบำบัดน้ำเสียสำหรับโรงพยาบาลขั้นตอนแรก ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี แล้วแต่การออกแบบระบบถังบำบัดน้ำเสียฆ่าเชื้อ เช่น การกรองด้วยตะแกรง การทำให้ลอย การใช้รางดักกรวดทราย การแยกด้วยแรงเหวี่ยง การทำให้ตกตะกอน เป็นต้น
2. การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางเคมี (Chemical Wastewater Treatment)
เป็นการใช้สารเคมีทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีเพื่อปรับสภาพน้ำเสียให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ โดยมีจุดประสงค์หลายอย่าง เช่น เพื่อรวมตะกอนขนาดเล็กให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อทำให้ของแข็งที่ละลายน้ำได้ตกตะกอนเป็นผลึก เพื่อปรับให้น้ำเสียมีความเป็นกลางไม่เป็นกรดหรือด่าง เพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำเสีย เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่ระบบถังบำบัดน้ำเสียเติมอากาศสำหรับโรงพยาบาลจะใช้วิธีการทางเคมีนี้ฆ่าเชื้อโรคในขั้นตอนสุดท้าย ก่อนปล่อยน้ำสู่แหล่งรับน้ำทิ้ง เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบและปัญหาตามมา
3. การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางชีวภาพ (Biological Wastewater Treatment)
เป็นการใช้สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กช่วยเปลี่ยนน้ำเสียให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทในระบบถังบำบัดน้ำเสียสำหรับโรงพยาบาลและโรงงานมากที่สุดคือสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรีย ระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับการออกแบบและความต้องการใช้งาน เนื่องจากวิธีการทางชีวภาพนี้เป็นส่วนสำคัญของถังบำบัดน้ำเสียเติมอากาศจึงจะขออธิบายอย่างละเอียดในหัวข้อถัดไป
อย่างที่ได้กล่าวไป ระบบถังบำบัดน้ำเสียเติมอากาศสำหรับโรงพยาบาลและโรงงานต่าง ๆ นั้นใช้วิธีทางชีวภาพในการบำบัดน้ำเสีย โดยทั่วไปมีวิธีการดังต่อไปนี้
1. ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS (Activated Sludge)
เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยจุลินทรีย์ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ต่าง ๆ ในน้ำเสีย มีองค์ประกอบ 2 ส่วนหลักคือ ถังเติมอากาศ และถังตกตะกอน หลักการทำงานคือจุลินทรีย์ในถังเติมอากาศจะกินสารอินทรีย์ในน้ำเสียเป็นอาหาร และใช้ออกซิเจนจากการเติมอากาศเข้าไปในการเจริญเติบโตและเพิ่มปริมาณ หากมีรวมกันเป็นจำนวนมากจะเรียกว่าสลัดจ์ (Sludge) หลังจากจุลินทรีย์ย่อยสารอินทรีย์แล้ว น้ำจะถูกส่งเข้าสู่ถังตกตะกอนเพื่อแยกน้ำใสให้ไหลล้นออกไป เหลือทิ้งไว้เพียงน้ำกับตะกอน ซึ่งตะกอนบางส่วนก็จะถูกสูบย้อนวนกลับเข้าสู่ถังเติมอากาศ เพื่อควบคุมปริมาณตะกอนจุลินทรีย์ให้เหมาะสมอยู่เสมอ ซึ่งวิธีนี้ได้นำมาประยุกต์ใช้กับถังบำบัดน้ำเสียเติมอากาศสำหรับโรงพยาบาลและโรงงานด้วย
2. ระบบแผ่นจานหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contractor หรือ RBC)
เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่ให้น้ำเสียไหลผ่านตัวกลางที่มีลักษณะเป็นทรงกระบอก และวางจุ่มอยู่ในถังบำบัดน้ำเสีย ตัวกลางนี้จะค่อย ๆ หมุนด้วยความเร็วต่ำ เมื่อหมุนจนขึ้นเหนือน้ำและสัมผัสกับอากาศ จุลินทรีย์ที่อยู่บนตัวกลางก็จะใช้ออกซิเจนย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย และเมื่อหมุนจมลงก็จะนำน้ำเสียขึ้นมาบำบัดใหม่สลับไปมาจนสภาพน้ำดีขึ้น ระบบนี้ถูกนำมาใช้ในถังบำบัดน้ำเสียเติมอากาศสำหรับโรงพยาบาลและโรงงานต่าง ๆ เป็นการปรับสภาพน้ำก่อนปล่อยเข้าสู่ถังกำจัดเชื้อโรคด้วยคลอรีนในขั้นตอนสุดท้าย และปล่อยออกสู่แหล่งรับน้ำทิ้งต่อไป
3. ระบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond)
เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยกลไกธรรมชาติ ใช้วิธีผันน้ำไปกักไว้ในบ่อลักษณะต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเป็น 3 บ่อ หรือ 4 บ่อ แล้วแต่การออกแบบและความต้องการบำบัดน้ำเสีย โดยทั่วไปจะใช้พื้นที่ค่อนข้างมาก หากเป็นโรงพยาบาลหรือโรงงานที่มีเนื้อที่จำกัดจะไม่สามารถใช้วิธีนี้ จึงมักจะใช้ถังบำบัดน้ำเสียเติมอากาศสำหรับโรงพยาบาลหรือโรงงานโดยเฉพาะมากกว่า
บ่อปรับเสถียรสามารถแบ่งตามหลักการทำงานได้ 4 แบบ คือ
3.1 บ่อแอนแอโรบิค (Anaerobic Pond) สารอินทรีย์ในน้ำเสียจะถูกย่อยด้วยจุลินทรีย์ชนิดไม่ใช้อากาศ เมื่อย่อยสลายแล้วจะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และก๊าซไข่เน่า
3.2 บ่อแอโรบิค (Aerobic Pond) สารอินทรีย์ในน้ำเสียจะถูกย่อยด้วยจุลินทรีย์ชนิดใช้อากาศ เมื่อย่อยสลายแล้วจะทำให้เกิดก๊าซออกซิเจน
3.3 บ่อแฟคคัลเททีฟ (Facultative Pond) สารอินทรีย์ในน้ำเสียจะถูกย่อยในแบบใช้อากาศที่ผิวด้านบนที่แสงแดดส่องถึง และเป็นแบบไม่ใช้อากาศที่ก้นบ่อด้วย
3.4 บ่อบ่ม (Maturation Pond) เป็นบ่อแอโรบิคที่มีความลึกไม่มากและแสงแดดส่องถึงก้นบ่อ ใช้สำหรับรองรับน้ำบำบัดแล้ว เพื่อฟอกน้ำทิ้งให้มีคุณภาพดีขึ้น และอาศัยแสงแดดฆ่าเชื้อโรคก่อนปล่อยออกแหล่งน้ำทิ้ง
4. ระบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon)
เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยจุลินทรีย์คล้ายกับบ่อปรับเสถียรแบบแฟคัลเททีฟ แต่ระบบนี้จะมีการใช้เครื่องเติมอากาศบนผิวน้ำ ซึ่งอาจเป็นแบบทุ่นลอยหรือแบบยึดติดกับแท่นก็ได้ เพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำเพื่อให้จุลินทรีย์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ระบบบึงประดิษฐ์ (Constructed Wetlands)
เป็นระบบที่เลียนแบบมาจากลักษณะของพื้นที่ชุ่มน้ำ ทำได้โดยการบดอัดดินให้แน่นเพื่อทำเป็นบึง และทำให้เกิดความลึกตามที่ต้องการ นอกจากนี้ยังมีการใช้พืชน้ำด้วย อาศัยกระบวนการทางธรรมชาติในการบำบัดน้ำเสีย ระบบนี้จะใช้พื้นที่มาก ต่างจากถังบำบัดน้ำเสียเติมอากาศที่จะใช้พื้นที่น้อยกว่า
6. ระบบคลองวนเวียน (Oxidation Ditch หรือ OD)
เป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS ประเภทหนึ่ง น้ำเสียและ Sludge จะถูกเก็บไว้ในในถังเติมอากาศที่มีลักษณะวนเวียนรูปวงรีที่ทำด้วยคอนกรีต น้ำเสียจะไหลผานคลองวนเวียนไปยังถังตกตะกอนเพื่อแยกน้ำใสออกจากตะกอน ส่วนตะกอนก้นถังจะถูกสูบวนกลับไปยังคลองวนเวียนเพื่อทำการบำบัดใหม่
เนื่องจากโรงพยาบาลมีพื้นที่จำกัด และส่วนมากจะมีอาคารต่าง ๆ สร้างไว้แล้ว และแน่นอนว่าในอาคารเหล่านั้นย่อมต้องมีระบบน้ำทิ้งอยู่ก่อนแล้ว ดังนั้นหากต้องการปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียให้มั่นใจว่า น้ำทิ้งจะไม่มีเชื้อโรคปะปน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่วนมากมักจะใช้ถังบำบัดน้ำเสียเติมอากาศ เพราะเป็นแบบที่ไม่ต้องยุ่งยากในการออกแบบ สามารถติดตั้งโดยใช้พื้นที่ไม่มากเท่ากับระบบอื่น และไม่ต้องวุ่นวายในการดูแลรักษามากนัก ระบบที่นิยมใช้ในถังบำบัดน้ำเสียเติมอากาศสำหรับโรงพยาบาลจะเป็นแบบแผ่นจานหมุนชีวภาพ หรือ RBC ซึ่งสามารถใช้บำบัดน้ำเสียให้มีค่า BOD ไม่เกิน 20 มิลลิกรัม/ลิตร ได้ตามมาตรฐานน้ำทิ้ง ใช้พลังงานต่ำ อุปกรณ์ไฟฟ้าใช้ระบบไฟเฟสเดียว (220 V) เท่านั้น น้ำที่บำบัดจาก RBC แล้วจะส่งต่อเข้าสู่ถังฆ่าเชื้อไวรัสด้วยคลอรีน ก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำทิ้ง ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าถังบำบัดน้ำเสียสำหรับโรงพยาบาลประเภทนี้จะทำให้น้ำทิ้งที่ผ่านระบบนี้ไม่ปนเปื้อนสิ่งสกปรกและเชื้อโรคต่าง ๆ อย่างแน่นอน
หากสนใจถังบำบัดน้ำเสียเติมอากาศสำหรับโรงพยาบาลและโรงงาน สามารถติดต่อเราได้โดยกรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้ นอกจากนี้เรายังมีบริการตรวจเช็คระบบถังบำบัดน้ำเสียสำหรับโรงพยาบาลและโรงงานโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ลงทะเบียนได้ที่แบบฟอร์มด้านล่างนี้ ฟรี
บริษัท พรีเมียร์ โพรดักส์ จำกัด (มหาชน)
โทร : 02-301-2327
Line @pp.wtprofessional